เมื่อคนไข้ได้ปลูกผมกับใครก็ไม่รู้!?

ในภาษาอังกฤษจะมีคำว่า Ghosting ที่มาจากคำว่า Ghost ที่แปลว่า “ผี” ในวงการการผ่าตัดปลูกผม Ghost hair transplant ก็คือ ผ่าตัดปลูกผมที่ “คุณหมอ” ไม่เคยปรากฏตัวเลย เหมือนเป็นผียังไงยังงนั้น กลายเป็นบุคคลอื่นที่ทำการผ่าตัดแทน โดยบุคคลนั้นไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมและไม่มีคุณสมบัติเพียงพอหรือได้รับอนุญาตให้ทำการผ่าตัด

ซึ่งปัจจุบันกรณีลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก ถึงแม้ว่าในบางคลินิกจะมีคุณหมอที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็อาจจะไม่ได้มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผ่าตัดปลูกผม แต่คุณหมอผู้ดำเนินการคลินิกได้จ้างทีมฟรีแลนซ์มาทำการผ่าตัดแทน หลายครั้งผู้ป่วยถูกวางยาสลบให้หลับ ทำให้ไม่รู้ว่าใครคือคนที่ทำการผ่าตัดให้

Dr. Singh แพทย์ศัลยกรรมปลูกผมจากกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้เล่าประสบการณ์ในการผ่าตัดปลูกผมซ่อมแซมในคนไข้รายหนึ่งของคุณหมอ

โดยที่คนไข้มาด้วยปัญหาผมที่ปลูกขึ้นไม่ดี คนไข้เล่าว่าเขาได้ไปปลูกผมที่คลินิกแห่งหนึ่ง โดยระหว่างการผ่าตัดเขาได้รับยานอนหลับแบบรับประทาน แต่ว่ายามีฤทธิ์ค่อนข้างแรง และทำให้เขาหลับตลอดการผ่าตัด ซึ่งพอมาย้อนคิดดูแล้วเขาคิดว่าน่าจะมีอะไรแปลกๆ และเริ่มคิดว่าตัวเองน่าจะถูกหลอกถึงแม้ว่าคลินิกจะดูน่าเชื่อถือก็ตาม โดยคลินิกได้โฆษณาด้วยราคาที่ถูกทำให้เขารู้สึกสนใจ ด้วยความที่เขาสนใจแค่ราคาและไม่ได้คิดว่าการผ่าตัดปลูกผมเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อนอะไร แต่พอมาทบทวนแล้ว เขาก็มาคิดได้ว่า นี่เป็นการกระทำที่ประมาทมาก เขาคิดว่าหมอจะเป็นผู้ทำการผ่าตัดปลูกผมให้ แต่สุดท้ายแล้ว นอกจากผมที่ปลูกจะขึ้นไม่ดี ผมบริเวณด้านหลังหนังศีรษะก็ถูกทำลายไปเยอะมาก!

ซึ่งการผ่าตัดปลูกผมเพื่อซ่อมแซมเคสในลักษณะนี้นั้น มีความซับซ้อน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแพทย์อย่างมาก ในขณะที่หลายๆ คลินิกไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้ และจ้างบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ให้มาทำการผ่าตัดให้ แต่กลับไปให้ความสำคัญกับการทำการตลาดที่ดึงดูดลูกค้าด้วยราคา

แผนงานและขั้นตอนการซ่อมแซม

Dr. Singh ได้ทำการผ่าตัดปลูกผมเพื่อแก้ไขให้ผู้ป่วยราย โดยการย้ายกราฟต์จากบริเวณที่ปลูกผิดทิศทางและใส่กลับลงไปในทิศทางและตำแหน่งที่เหมาะสม เนื่องจากผู้ป่วยมีปริมาณผมด้านหลังศีรษะเหลือไม่มาก เพราะโดนทำลายไปเยอะจากการผ่าตัดครั้งแรก จึงต้องนำผมที่ยังคงเหลืออยู่มาใช้อย่างมีประโยชน์มากที่สุด

Dr. Singh ได้ออกแบบแนวผมใหม่ที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยรายนี้ และแก้ไขแผลเป็นที่บริเวณด้านหลังหนังศีรษะโดยการปลูกกราฟผมบางส่วนลงไปในบริเวณที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

ส่วนผมที่ปลูกไปแล้ว สิ่งที่ยาก คือ การต้องเลือกว่ากราฟต์ไหนจำเป็นที่จะต้องเอาออก และกราฟต์ไหนไม่ต้องเอาออก และด้วยความที่การผ่าตัดครั้งก่อนขาดการวางแผนการผ่าตัดอย่างถูกต้อง ทำให้ใส่กราฟต์ลึกเกินไป ซึ่งอาจทำให้ระบบหลอดเลือดบริเวณที่เคยปลูกไปเสียหายไปในระดับหนึ่ง

ปัญหาที่พบบ่อยจากการไปปลูกผมในคลินิกเถื่อนก็ คือ อัตราการรอดของกราฟต์ต่ำมาก รวมถึงการที่เจาะรากผมจากด้านหลังหนังศีรษะออกมามากเกินไป ทำให้ผมที่ด้านหลังหนังศีรษะบางมาก และอยากต่อการแก้ไข  ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ถูกต้อง และขาดประสบการณ์ ความมุ่งมั่น และจิตสำนึกทั้งจากคนที่เป็นแพทย์เจ้าของไข้และทีมผ่าตัด ไม่ว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือไม่ก็ตาม

แปลโดย พญ. วิภาวัน วัธนะนัย

Sharing is caring!

Leave a Comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.